วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลวดวายคัต Brass EDM Wire






ลวดวายคัต Brass EDM Wire
       AEC ทำให้การแข่งขั้นทางธุรกิจไม่ได้เกิดกับบริษัทในประเทศเพียงอย่างเดียว AEC ยังทำให้เราต้องแข่งกับประเทศ AEC ด้วยกันอีกด้วย ทำให้เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาโรงงานของเราให้ทันต่อการเปิดประเทศอีกด้วย       ในยุโรปและอเมริการ ต่อมาก็ญี่ปุ่นและอินเดีย มีลวดที่ใช้กับเครื่องวายคัตจะเป็นลวด coated wire ทั้งสิ้น  โดยลวด coated wire นี้ ผลิตออกมาหลายชนิดเพื่อให้เหมาะสมกับงาน ความหนา ผิวงาน ลักษณะการตั้งค่าไฟของเครื่อง wire cut แต่ละรุ่นเครื่องและแต่ละยี่ห้อของเครื่องวายคัตอีกด้วยสาเหตุที่ต้องเลือกลวดให้เหมาะสมกับลักษณะดังกล่าว พอสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้1) เพื่อให้ลวดสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้เหมาะสมกับชิ้นงาน เช่นชิ้นงานเป็นทองแดง ลวดที่นำมาตัดควรเป็นทองเหลืองชิ้นงานที่เป็นเหล็กเกรด ลวดที่นำมาตัดความเป็นลวดทองแดง       เพราะทองแดงนำกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าทองเหลือง ดังนั้นถ้าชิ้นงานที่นำมาตัดเป็นเหล็ก ถ้าเราใช้ลวดทองเหลืองตัด กับใช้ลวดทองแดงตัด แน่นอน ความเร็วที่ได้ย่อมต่างกัน ผิวงานที่ได้ย่อมเรียบต่างกัน 
       ลวดโดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของ Cu และ ZN   โดย Cu จะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าที่ดี ดังนั้นลวดที่มี Cu มากจะกินชิ้นงานได้เร็วและเรียบกว่าลวดที่มี Cu น้อย
       นอกจากชิ้นงานเป็นทองแดงและเหล็กแล้วยังมีชิ้นงานประเภท carbide, aluminum, graphite ก็จะนำไฟฟ้าแตกต่างกัน ลวดที่นำมาตัดก็จะแตกต่างกันออกไป     2. เลือกลวดให้เหมาะสมกับความหนาและ Taper องศาของงาน ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ควรทราบสำหรับการเลือกลวดคือ tensile strength
       ในเบื้องต้น tensile strength จะถูกระบุจากเครื่องจักรมาแล้ว เช่น เครื่องจากยุโรป เช่น Charmilles,Agie ลวดที่ใช้มาตรฐานจะต้องมีค่า tensile อยู่ที่ 510 N/mm2  สำหรับเครื่องญี่ปุ่นหรือผลิตตามมาตรฐาน JIS จะมีค่า tensile strength มาตรฐานอยู่ที่ 980N/mm2 (100 Kg/mm2)ลวด wire cut ในบ้านเราที่มีขายพอจะแบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้      ชนิดของลวด Wire Cut                   Tensile Strangth
(S)     Soft                                           390 – 490 N/mm2(SH)   Simi Hard                                  491 – 700 N/mm2(H)     Hard                                                 900 N/mm2(SPE) Special (Elongation mm 2%)           900 N/mm2 Taper    Highest           Cutting Rate at workpiece height of            Precision               <150mm.               >150 mm.<7          SH,H,SPE          SH,H,SPE             H,SPE8 – 20    SH,S                   S, SH                     SH,H>20        SS                       SH,H                      SH,H 3. ความเหมาะสมกับเครื่องจักร       ในการ set กระแสไฟฟ้าของเครื่องจักร (Condition ของเครื่อง) สามารถตั้งกระแสไฟตามประเภทของลวดแต่ละชนิดได้กัน  ดังนั้นบางครั้งเราจะพบว่า การตัดงานชิ้นเดียวกันแต่ใช้ลวดคนละชนิดกันจะมีความแตกต่างกันทั้งความเร็ว,ควมมละเอียด,ขนาดของชิ้นงาน ถึงแม้จะเป็นลวดทองเหลืองเหมือนกัน       ในยุโรปจะมีลวดที่ใช้กันทั่วไป โดยจะเป็นลวด Coate Wire ซึ่งจะมีลวดให้เลือกตามความเหมาะสมกับชิ้นงาน Meterial และลักษณะงาน เช่น1.  Cobra Cut     มีชนิด A, B, D, E, S
2.  Bronco Cut    มีชนิด X, HX
3.  Mega Cut      มีชนิด A, D, T, HS
4.  Brass Wire
โดยลวดแต่ละชนิดดังกล่าวข้างต้น จะเหมาะสมกับชิ้นงานแต่ละชนิด  ซึ่งการเลือกใช้ลวดจะทำให้ตัดงานได้เร็วขึ้น ได้ผิวงานละเอียดขึ้น (ไม่จำเป็นต้องตัดงานหลายรอบ) สามารถควบคุมค่า Clearance ได้ดีกว่า  กล่าวคือลวดแต่ละชนิดจะมี Conductivity =    9m        แตกต่างกันการเลือกลวดให้เหมาะกับลักษณะงาน จะทำให้เราไม่จำเป็นต้องปรับความเร็วของการ feed เส้นลวด และไม่ต้องปรับแรงตึงลวด เพื่อป้องกันลวดขาด ในกรณีที่ตัดงานหนาหรือเพิ่มกระแสไฟเพื่อต้องการตัดงานเร็ว       นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการคือผู้ผลิต เพราะปัจจุบันมีลวดขายอยู่หลายยี่ห้อ ทั้งเป็นยี่ห้อของโรงงานที่ผลิตเอง และเป็นยี่ห้อที่จ้างผลิตแล้วให้ตีตราแบรนด์เอง ดังนั้น ควรเลือกลวดที่มีมาตรฐานรองรับ เพราะกระบวนการในการผลิตที่มีมาตรฐานทำได้ยากมาก เช่น       -การควบคุมขนาดของลวด Diameter to lerance ต้องมีค่า +/- 0.001 มม. และต้องสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น       -Tensile Strength
       -Conductivity
       -การอบลวด และการอบน้ำยาที่มีคุณภาพ       -ความยาวของลวด       -การใช้ลวดที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อใช้แล้วจะมีผลต่อตัวเครื่องจักรและชิ้นงาน       -ควบคุมขนาดไม่ได้       -ผิวงานไม่เรียบ       -ลวดขาด       -ชิ้นงานเป็นรอยไหม้       -มีความเขม่าเกาะที่ชิ้นงาน       -อะไหล่เครื่องจักรต้องเปลี่ยนเร็วขึ้น เช่น หัวไกด์ Diamond Guide,Conductivity หรือ Power feed Contact, โรลเลอร์ดึงลวด Roller เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นงานสูงขึ้น และได้งานไม่มีคุณภาพทำให้ราคาลดลง ถึงอาจจะต้องเสียเงินเสียเวลาทำชิ้นงานใหม่                                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น